ความหมายของราคา
ราคาเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ภาวะทางตลาดทำงาน ไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งการทำงานของราคาสินค้านี้ เราเรียกว่า กลไกราคา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่
สะท้อนถึงภาวะการเเข่งขันกันขเครอบครองสินค้าและบริการระหว่างผู้ซื้อเเละผู้ขาย
ทฤษฎีราคาอธิบายถึงบทบาทของอุปสงค์และอุปทานที่มีต่อการกำหนดราคาสินค้าและ
บริการต่างๆ ในตลาด โดยอยู่บนเงื่อนไขระบบเศรษฐกิจเสรีและตลาดแข็งขันสมบูรณ์
ขณะที่กลไกราคาเกิดจากอุปสงค์ของผู้บริโภคและอุปทานของผู้ผลิตถ้าสภาพการณ์อื่นๆ
คงที่ ปริมาณการซื้อ การผลิตสินค้าจะเปลี่ยนแปลงตามภาวะราคาสินค้านั้น อุปสงค์ Demand จะแสดงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้า
ผู้บริโภคจะซื้อลดลง ถ้าราคาเพิ่มขึ้น แต่จะซื้อมากขึ้น ถ้าราคาลดลง อุปทาน Supply
เป็นการแสดงถึงพฤติกรรมของผู้ผลิต ผู้ผลิตจะเพิ่มปริมาณการผลิต
ถ้าราคาเพิ่มขึ้น แต่จะลดปริมาณการผลิต ถ้าราคาลดลง ราคาดุลยภาพ
คือระดับราคาที่ความต้องการเสนอซื้อเท่ากันพอดีกับความต้องการเสนอขาย
หรือจุดที่ปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน
องค์ประกอบราคา
ในการตั้งราคาสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งประกอบด้วยปัจจัยมากมาย แต่ปัจจัยที่ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องคำนึงถึงมีด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้ (ธิดารัตน์ โชคบัณฑิต 2549)
ต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการผลิตสินค้า หรือบริการ ก่อนที่กิจการจะกำหนดว่าอยากได้กำไรเท่าไร กิจการควรที่จะตั้งราคาและคำนวณต้นทุนทั้งหมดออกมาให้เรียบร้อยก่อน ทั้งค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา และอื่นๆ
กำไร เป็นสิ่งที่ทุกกิจการควรคำนึงถึงตลอดเวลาในกระบวนการตั้งราคา เพราะกำไรเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสามารถของธุรกิจและสามารถที่จะอยู่ได้ถึงอนาคต ผู้ประกอบการของหลายๆ กิจการอาจมองข้ามเป้าหมายนี้ไป ซึ่งการที่ตัดราคาสินค้ากันเองเป็นสิ่งที่ทุกกิจการไม่ควรกระทำ แต่สิ่งที่ควรจะทำก็คือการหันมาปรับราคาและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าให้มากขึ้น เพื่อเป็นการทำกำไรให้ถึงเป้าหมายตามที่กิจการต้องการ
ความต้องการของตลาด ในการกำหนดราคามักจะขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด คือถ้าสินค้าในช่วงเวลานั้นมีความต้องการจากผู้บริโภคสูงในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการก็ย่อมสามารถที่จะกำหนดสูงได้ และในทางกลับกันถ้าหากสินค้าและบริการในขณะนั้นไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค การกำหนดราคาของสอนค้าหรือบริการนั้นก็จะลดลง ดังนั้น ราคาของสินค้าหรือบริการจึงมีความยืดหยุ่นและปรับตัวขึ้นลงได้ตามตลาดอยู่ตลอดเวลา
คู่แข่ง ราคาสินค้าของคู่แข่งนั้นมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างมาก ถ้าสินค้าเจ้าหนึ่งมีราคาถูกกว่าและเมื่อเทียบกับคุณภาพและวัตถุดิบแล้วมีความใกล้เคียงกัน ผู้บริโภคก็มักจะเลือกสินค้าที่ราคาถูกกว่าเพราะคุณภาพไม่แตกต่างกันมาก ดังนั้นการตั้งราคาจากต้นทุนและความต้องการของตลาดนั้นอาจไม่เพียงพอด้วยซ้ำไป
การตั้งราคาบวกจากต้นทุน
(Cost-Plus Pricing)
1. คิดจากต้นทุนของสินค้า (Markup
on Cost) ในการตั้งราคาโดยคำนึงถึงต้นทุนนี้
2. คิดจากราคาขายสินค้า (Markup on
Selling Price)
3. วิธีบวกเพิ่มแบบลูกโซ่ (Mark up
Chain)
คุณค่าที่รับรู้ในสายตาผู้บริโภค ความรู้สึกของผู้บริโภคที่เกิดจากการรับรู้ถึงคุณภาพโดยรวม หรือคุณภาพที่เหนือกว่า และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ ซึ่งการตัดสินใจซื้อเกิดจากการยอมรับของผู้บริโภคว่าคุณค่าหรือคุณภาพของสินค้านั้น สูงกว่าราคาของสินค้า (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)
คุณค่าที่รับรู้ในสายตาผู้บริโภค ความรู้สึกของผู้บริโภคที่เกิดจากการรับรู้ถึงคุณภาพโดยรวม หรือคุณภาพที่เหนือกว่า และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ ซึ่งการตัดสินใจซื้อเกิดจากการยอมรับของผู้บริโภคว่าคุณค่าหรือคุณภาพของสินค้านั้น สูงกว่าราคาของสินค้า (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบ
Input คือ ต้นทุน กำไร ความต้องการของตลาด คู่แข่ง คุณค่าที่รับรู้ในสายตาผู้บริโภค
Process คือ กระบวนการที่ใช้ในการตั้งราคา
Output คือ การประเมินผลที่ออกมาจาก จะดูจากยอดขายที่เกิดขึ้น รวมถึงกำไรได้ตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น