วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Promotion

การส่งเสริมการตลาด (Marketing Promotion)
ประวัติความเป็นมา และความหมาย
Kotler, Philip. (1999). Marketing Management ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) หมายถึง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดหาให้ได้มาแล้วซึ่งการใช้สินค้าและบริการ ทั้งนี้หมายรวมถึง กระบวนการตัดสินใจ และการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวกับการซื้อและการใช้สินค้า



องค์ประกอบหลัก
กลยุทธ์การตลาดจัดเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันมีกลยุทธ์การตลาดต่างๆ มากมายให้เลือกเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ แต่กลยุทธ์ที่ต้องถือเป็นต้นแบบทางการตลาดอย่างแท้จริงคงจะหนีไม่พ้นกลยุทธ์การตลาด  4p
1. Product ก็คือสินค้าหรือบริการที่เราจะเสนอให้กับลูกค้า แนวทางการกำหนดตัว product ให้เหมาะสมก็ต้องดูว่ากลุ่มเป้า หมายต้องการอะไร แต่โดยทั่วไปแนวทางที่จะทำสินค้าให้ขายได้มีอยู่สองอย่างคือ

      1.1 สินค้าที่มีความแตกต่าง โดยการสร้างความแตกต่างนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้จริงว่าต่างกันและ ลูกค้าตระหนักและชอบในแนวทางนี้

      1.2 สินค้าที่มีราคาต่ำนั่นคือการยอมลดคุณภาพในบางด้านที่ไม่สำคัญลงไป สร้างความแตกต่างมากกว่า การเป็นสินค้าราคาถูกเพราะ หากเป็นด้านการผลิตแล้วรายใหญ่ จะมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่ารายย่อย แต่หากเป็นด้านบริการ

      2. Price ราคาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญในการตลาด การตั้งราคาในที่นี้จะเป็นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์ และกลุ่มเป้าหมายของเรา เพราะราคาคือตัวบ่งบอกภาพลักษณ์ของสินค้าที่สำคัญที่สุด อย่างไรก็ตาม ในด้านการทำธุรกิจขนาดย่อมแล้ว ราคาที่เราต้องการ อาจไม่ได้คิดอะไรลึกซึ้งขนาดนั้น แต่จะมองกันในเรื่องของตัวเลข ซึ่งจะมีวิธีกำหนดราคาง่ายต่างๆดังนี้

     2.1 กำหนดราคาตามลูกค้า คือการกำหนดราคาตามที่เราคิดว่า ลูกค้าจะเต็มใจจ่าย ซึ่งอาจจะได้มาจากการทำสำรวจ หรือแบบสอบถาม

     2.2 กำหนดราคาตามตลาด คือการกำหนดราคาตามคู่แข่งในตลาด
     2.3 กำหนดราคาตามต้นทุน+กำไร วิธีนี้เป็นการคำนวณว่าต้นทุนของเราอยู่ที่เท่าใด แล้วบวกค่าขนส่ง ค่าแรงของเรา บวกกำไร
3. Place คือวิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า หลักของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่ขายให้มากสถานที่ที่สุดจะดีเสมอ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า สินค้าของท่านคือ อะไร และกลุ่มเป้าหมายท่านคือใคร เช่นของใช้ในระดับบน ควรจะจำกัดการขายไม่ให้มีมากเกินไป
   4. Promotion คือการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อบอกลูกค้าถึงลักษณะสินค้าของเรา เช่นโฆษณาในสื่อต่างๆ หรือการทำกิจกรรม ที่ทำให้คนมาซื้อสินค้าของเรา เช่นการทำการลดราคาประจำปี ขึ้นกับ ช่องทางที่เราจะใช้ ที่จะดีและอาจจะฟรีคือ สื่ออินเตอร์เนต ซึ่งมีผู้ใช้เพิ่มจำนวนขึ้นมากในแต่ละปี สื่ออื่นๆที่ถูกๆ ก็จะเป็นพวก ใบปลิว โปสเตอร์ หากเป็นสื่อท้องถิ่นก็จะมี รถแห่ วิทยุท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ต้น










การโฆษณา (Advertising)
                   การนำเสนอความคิด สินค้าหรือบริการ ผ่านสื่อ (Media)
                   มีการชำระเงินค่าสื่อที่ใช้อย่างเจาะจงตามพื้นที่ และ/หรือตามระยะเวลา
                   ข้อดี : เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก
                   ข้อเสีย : ต้นทุนสูง
(ค่าผลิตงานโฆษณาและค่าเผยแพร่)
การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling)
                   การใช้บุคลากรของกิจการเพื่อทำหน้าที่ในการขาย รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าเป้าหมาย
                   อาจเรียกว่า พนักงานขาย (Salesperson) หรือหน่วยงานขาย (Salesforce)
                   ข้อดี : เป็นการสื่อสารแบบสองทางระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ
                   ข้อดี : สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างละเอียด
                   ข้อเสีย : มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย
ต่อลูกค้า 1 รายสูงมาก
การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)
                   เป็นการจูงใจระยะสั้นเพื่อกระตุ้นการซื้อและการขาย
                   ไม่สามารถใช้เครื่องมือเดียวได้ ต้องใช้ร่วมกันการโฆษณา การตลาดทางตรง หรือการขายโดยพนักงานขาย
                   ข้อดี : มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในทันที
                   ข้อดี : ปรับเปลี่ยนวิธีการส่งเสริมการขายได้ง่าย
                   ข้อเสีย : ผู้บริโภคจะไม่ซื้อถ้าไม่มีรายการส่งเสริมการขาย
การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
                   การติดต่อสื่อสารกับกลุ่มประชาชนทั่วไป แรงงาน ผู้ถือหุ้น หน่วยงานราชาการ และกลุ่มสาธารณะต่าง ๆ
                   จุดประสงค์เพื่อสร้างทัศนคติหรือภาพลักษณ์ที่ดีต่อกิจการในระยะยาว
                   การแก้ข่าว แก้ไขสถานการณ์ไม่ดีที่กระทบต่อภาพลักษณ์
                   ข้อดี : สร้างความเชื่อถือต่อผู้บริโภคได้ในระยะยาว
                   ข้อเสีย : ต้องใช้ความพยายามเพื่อสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มสาธารณะต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อมวลชน
การตลาดทางตรง (Direct Marketing)
                   การสื่อสารทางตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เจาะจงได้เป็น
รายบุคคล เพื่อให้เกิดการตอบสนองในทันที
                   กิจการจะต้องมีฐานข้อมูลและบัญชีรายชื่อ
                   ข้อดี : สามารถปรับแต่งรูปแบบการสื่อสารและข่าวสารให้สอดคล้องกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล
                   ข้อเสีย : ผู้บริโภคบางรายมีทัศนคติไม่ดีต่อการตลาดทางตรง






ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด
1. ลักษณะของตลาดเป้าหมาย (Nature of Target Market)
    1.1 ประเภทของลูกค้า(Type of Customer)
    1.2 การกระจายตัวตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของตลาด
          (Concentration and Geographic Scope of Marketing)
    1.3 ระดับความสนใจในการซื้อสินค้า(Readiness to Buy)
2. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ (Nature of Product)
    2.1 ลักษณะความเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อลูกค้า 
          (Degree of Customization)
     2.2 มูลค่าต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์  (Unit Value)
การจัดสรรงบประมาณสำหรับการส่งเสริมการตลาด




การประยุกต์ใช้
หลายๆคนอาจเคยรู้จักเว็บขายดีล www.Ensogo.com    ซึ่งขายสินค้าและบริการ มีทั้งร้านอาหาร  ความงามและสปา  ที่พักโรงแรม  ซึ่งทาง  ensogo  _จะหาร้านค้ามาลง  โดยให้สินค้าลดลง  50-90%  `  แต่สิ่งที่ร้านค้ามาลงกับกับ  ensogo นั้นได้
                   การสร้างการรู้จักแบรนด์ (Brand Awareness) 
                   ไม่เสียค่าโฆษณาก่อนล่วงหน้า  เพราะถ้าไปโฆษณาโดยการออกบู๊ท  โปรโมตตามหนังสือพิมพ์  ทีวี  วิทยุ  จะเสียค่าโฆษณาก่อนล่วงหน้า  โดยยังไม่ทราบว่าสินค้าจะขายได้หรือไม่
                   เสียค่าคอมมิชั่น  35-50 %  สำหรับร้านอาหาร และคลีนิคเสริมความงาม
  และ  35-10%  สำหรับที่พัก  โรงแรม   (ซี่งทาง  agoda จะเก็บค่าคอมมิชั่นอยู่ที่  15-18%)
                   การทำเงื่อนไขพิเศษ  ใช้ได้บางช่วงเวลา  โดยปกติแล้วโรงแรมจะมีผู้เข้าพัก  วันศุกร์และ  เสาร์  ส่วนในช่วงวันอื่นจะไม่มีผู้เข้าพัก  ทางโรงแรมเลยนำมาลดราคา 50-70%  ในวันอาทิตย์ถึงพฤหัสบดี  และมีเงื่อนไขว่าถ้าเข้าพัก  วันศุกร์และเสาร์จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 





กลุ่มลูกค้า ของ Ensogo   คือ ผู้หญิง   วัยนักศึกษาและวัยทำงาน   มีอายุ ในช่วง  25 – 35 ปี
ซึ่งการทำการตลาดของ Ensogo  นั้นคือ  เน้นหลักคือการตลาดออนไลน์  ได้เน้นโฆษณาใน facebook  และการอีเมล์ (e-Mail List)





ที่มา

ทฤษฎีระบบ (System Theory)

อรนุช  ตันติสุข 
รหัสนักศึกษา  57561027
D.B.A # 06   มหาวิทยาลัยศรีปทุม   ผศ.ดร. วิชิต  อู่อ้น

https://col128.mail.live.com/ol/clear.gifhttps://col128.mail.live.com/ol/clear.gifhttps://col128.mail.live.com/ol/clear.gifhttps://col128.mail.live.com/ol/clear.gif


ประวัติความเป็นมา  ความหมาย  ทฤษฎีระบบ (System Theory) มีต้นกำเนิดมาจากนักทฤษฎีองค์การและนักชีววิทยาคือ  โบลด์ดิ้งและ  เบอร์ทาแลนด์ไฟ  (Boulding  and  Bertalunffy)  ที่มององค์การในฐานะสิ่งมีชีวิต  โดยมองในรูประบบเปิดเหมือนระบบกายวิภาคของสิ่งมีชีวิต  (Anatomy)  เช่นเดียวกับ  มิลเลอร์และไรซ์  (Miller  and  Rice,  1967  :  3)  คิมเบอร์ลี่  (Kimberly,  1979  :  437 – 457)  และดาวส์  (Downs,  2524  :  13 – 20) 
ทฤษฎีระบบ (System Theory)   คือแนวความคิดการบริหารองค์กรทั้งระบบ  และแยกย่อยออกมาให้บริหารได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ  ซึ่งระบบขององค์กรจะแบ่งเป็น  2  ระบบใหญ่ๆคือ 
ระบบปิด  ( CLOSED SYSTEM)  คือระบบภายในที่ไม่ได้รับรู้คู่แข่ง  ไม่รับรู้ข่าวสารเทคโนโลยีต่างๆ  รวมถึงไม่ตะหนักในความต้องการของลูกค้าด้วย
ระบบเปิด  (OPEN SYSTEM) ระบบที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม  คำนึงถึงเศรษฐกิจ   ใส่ใจสถานการณ์ภายนอก  มีการยืดหยุ่นในการทำงาน

องค์ประกอบหลัก

สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ และองค์ประกอบแรกที่จะนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ โดยรวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อันเป็นที่ต้องการของระบบนั้นด้วย ในระบบการศึกษาตัวป้อนเข้าไป
กระบวนการ (Process) เป็นองค์ประกอบที่สองของระบบ หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ
ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ     หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา      

การประยุกต์ใช้
ระบบต้องมีองค์ประกอบเพื่อการดำเนินงานซึ่งประกอบไปด้วย
1.สิ่งที่ป้อนเข้ามา (Input) เป็นองค์ประกอบแรกที่เข้าสู่กระบวนการ  ถ้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม  ก็จะเป็น  ผู้บริหาร  พนักงาน  สภาพแวดล้อมของการทำงาน  วัตถุดิบ  โรงงาน  เครื่องจักร
2.  กระบวนการ (Process)  เป็นองค์ประกอบของการทำงาน   คือการนำสิ่งป้อนเข้า เข้าสู่กระบวนการผลิต  เช่น  พนักงานนำสัปรด  เข้าสู่กระบวนการปลอก นำน้ำเชื่อมใส่  และบรรจุสู่กระป๋อง
 3. ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product)  คือความสำเร็จต่างๆในการทำงานอย่างมีประสิทธ์ภาพ  เช่น สัปรดกระป๋องพร้อมขาย  หลังจากการตรวจสอบ QC
ทั้ง  3  ตัวการจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้  ต้องใช้ทั้งหมดเพื่อทำให้เกิดงานอย่างมีประสิทธ์ภาพ  มีความสัมพันธ์เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
 Framework Management Tool box
ด้าน Planning  (Input)
·       1.Strategic Planning
·       2.SWOT Analysis
·       3.Five Forces Analysis
·       4.Value Chain Analysis
·       5.Industry Analysis
·       6. Stakeholder Analysis
·       7. Strategic Matrix
·       8.Alternative (TOWS, BCG, SPACE, GE, GRAND)
·       9.Product Life Cycle
·       10.Project Management
·       11.Benchmarking
ด้าน Organizing  (Process)
·       12.Core Competency
·       12.HRM
·       14.Team Development
·       15.Re-engineering
·       16.Mass Customer
·       17.Customer Relationship
Management
·       18.Corporate Social Responsibility
·       19.Corporate Governance
·       20.Knowledge Management
·       21. Learning Organization
·       22.E-learning
·       23.5’S
·       24.Six  Sigma
·       25.TQM
·       26.PMQA
ด้าน Leading (Process)
27.7’s Framewo
28 .Strategic Thinking
29.Brainstormin
30.Communication
31.Networking
  32.Visioning
33.Leadership
34.Change Management
 35.Blueprint for change
36.Outsourcing
37.Risk Management
38.PDCA
39.Value Based Management
Framework Management Tool Box
ด้าน Controlling   (Out put)
40.EVA
  41.ABC
42.BSC
43.KPI,CSF
44.Performance Management
 45.Performance Prism




ที่มา